วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ปลากัดหางมงกุฎ หรือปลากัดคราวน์เทล

ปลากัดหางสามเหลี่ยม หรือปลากัดเดลตาเป็นปลาที่พัฒนาสายพันธุ์มาจากปลากัดครีบยาว หรือปลากัดจีน โดยพัฒนาให้หางสั้นเข้าและแผ่กว้างออกไปเป็นรูปสามเหลี่ยม ขอบครีบหางกางทำมุม ๔๕ – ๖๐ องศา กับโคนหาง และต่อมาได้พัฒนาให้ครีบแผ่ออกไปกว้างมากยิ่งขึ้น เรียก “ซูเปอร์เดลตา” ซึ่งมีหางแผ่กางใหญ่กว่าปกติ จนขอบครีบหางด้านบนและล่างเกือบเป็นเส้นตรง
ปลากัดหางสามเหลี่ยม หรือปลากัดเดลตาเป็นปลาที่พัฒนาสายพันธุ์มาจากปลากัดครีบยาว หรือปลากัดจีน โดยพัฒนาให้หางสั้นเข้าและแผ่กว้างออกไปเป็นรูปสามเหลี่ยม ขอบครีบหางกางทำมุม ๔๕ – ๖๐ องศา กับโคนหาง และต่อมาได้พัฒนาให้ครีบแผ่ออกไปกว้างมากยิ่งขึ้น เรียก “ซูเปอร์เดลตา” ซึ่งมีหางแผ่กางใหญ่กว่าปกติ จนขอบครีบหางด้านบนและล่างเกือบเป็นเส้นตรง
ปลากัดหางสามเหลี่ยม หรือปลากัดเดลตาเป็นปลาที่พัฒนาสายพันธุ์มาจากปลากัดครีบยาว หรือปลากัดจีน โดยพัฒนาให้หางสั้นเข้าและแผ่กว้างออกไปเป็นรูปสามเหลี่ยม ขอบครีบหางกางทำมุม ๔๕ – ๖๐ องศา กับโคนหาง และต่อมาได้พัฒนาให้ครีบแผ่ออกไปกว้างมากยิ่งขึ้น เรียก “ซูเปอร์เดลตา” ซึ่งมีหางแผ่กางใหญ่กว่าปกติ จนขอบครีบหางด้านบนและล่างเกือบเป็นเส้นตรง

ปลากัดหางมงกุฎ หรือปลากัดคราวน์เทลเป็นปลากัดที่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นใน พ.ศ. ๒๕๔๓ โดยนักเพาะเลี้ยงปลากัดชาวสิงคโปร์ เป็นปลากัดสายพันธุ์ใหม่ที่มีหางจักเป็นหนามเหมือนมงกุฎ และเป็นสายพันธุ์หนึ่งที่ได้รับความนิยมเลี้ยงกันมากในปัจจุบัน ลักษณะสำคัญของปลากัดชนิดนี้คือ ก้านครีบจะโผล่ยาวออกไปจากปลายหาง ลักษณะดูเหมือนหนาม ซึ่งอาจยาวหรือสั้นแตกต่างกันออกไป เช่นเดียวกับลักษณะการแยกของปลายหนาม และการแยกการเว้าโคนหนามก็มีหลายรูปแบบ ปลากัดหางมงกุฎที่สมบูรณ์จะมีครีบหางแผ่เต็มซ้อนทับได้แนวกับครีบอื่นๆ และส่วนของหนามมีการจัดเรียงในรูปแบบที่สวยงามสม่ำเสมอ

ปลากัดหางพระจันทร์ครึ่งซีก

ปลากัดหางพระจันทร์ครึ่งซีก หรือปลากัดฮาล์ฟมูนเดลตาเป็นปลากัดที่มีหางแผ่เป็นรูปครึ่งวงกลม โดยขอบครีบหางจะแผ่เป็นแนวเส้นตรงเดียวกันเป็นมุม ๑๘๐ องศา ได้มีแนวคิดและความพยายามในการที่จะพัฒนาปลากัดสายพันธุ์นี้ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๐ ในประเทศเยอรมนี แต่เพิ่งประสบผลสำเร็จเมื่อราว พ.ศ. ๒๕๓๐ โดยนักเพาะเลี้ยงปลากัดชาวฝรั่งเศสและชาวเยอรมัน
ปลากัดหางพระจันทร์ครึ่งซีกมีลักษณะที่สำคัญ คือ ครีบหางแผ่เป็นรูปครึ่งวงกลม โดยขอบครีบด้านหน้าจะแผ่เป็นแนวเส้นตรงเดียวกันเป็นมุม ๑๘๐ องศา ครีบด้านนอกเป็นขอบเส้นโค้งของครึ่งวงกลม ก้านครีบหางแตกแขนง ๒ ครั้ง เป็น ๔ แขนง หรือมากกว่า ปลาที่สมบูรณ์จะต้องมีลำตัวและครีบสมส่วนกัน โดยลำตัวต้องไม่เล็กเกินไป ครีบหางแผ่ต่อเนื่องหรือซ้อนทับกับครีบหลังและครีบก้น จนเห็นเป็นเนื้อเดียวกัน ขอบครีบหลังโค้งมนเป็นส่วนหนึ่งของวงกลม เส้นขอบครีบทุกครีบโค้งรับเป็นเส้นเดียวกัน (ยกเว้นครีบอก) ปลายหางคู่ที่แยกเป็น ๒ แฉกจะต้องซ้อนทับและโค้งมนสวยงาม ปลากัดหางพระจันทร์ครึ่งซีกที่แท้จริงจะต้องมีขอบครีบหางแผ่ทำมุม ๑๘๐ องศา ได้ตลอดไป ถึงแม้ปลาจะมีอายุมากขึ้นก็ตาม

ปลากัดจีน

ปลากัดจีนเป็นชื่อที่ใช้เรียกปลากัดครีบยาวมาช้านาน เข้าใจว่าอาจมาจากลักษณะครีบที่ยาวรุ่ยร่ายสีฉูดฉาดเหมือนงิ้วจีน ปลากัดจีนเป็นปลาที่พัฒนาสายพันธุ์มาจากปลาลูกหม้อ โดยผสมคัดพันธุ์ให้ได้ลักษณะที่มีครีบและหางยาวขึ้น ความยาวของครีบหางส่วนใหญ่จะยาวเท่ากับ หรือมากกว่าความยาวของลำตัวและหัวรวมกัน และมีการพัฒนาให้ได้สีใหม่ๆ และสวยงาม โดยนักเพาะเลี้ยงปลากัดชาวไทย ซึ่งได้พัฒนาสายพันธุ์สำเร็จมาช้านาน ก่อนที่ปลากัดจะถูกนำไปเลี้ยงในต่างประเทศ แต่ไม่มีการบันทึกไว้ว่า การพัฒนาปลากัดสายพันธุ์นี้เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด ปลากัดชนิดนี้เป็นชนิดที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามแพร่หลายไปทั่วโลก และได้มีการนำไปพัฒนาสายพันธุ์ต่อเนื่อง จนได้สายพันธุ์ที่มีลักษณะใหม่ๆ ออกมาอีกมากมาย

ปลากัดป่าปลากัดป่า

ปลากัดป่าปลากัดป่า หรือ ปลาลูกทุ่ง ที่พบในธรรมชาติ ตามท้องนา หนองบึง ส่วนใหญ่จะเป็นปลาขนาดเล็กที่ไม่เด่นมากนัก ในสภาพปกติสีอาจเป็นสีน้ำตาลเทาหม่น หรือสีเขียว และอาจมีแถบดำจาง ๆ พาดตามความยาวของลำตัว อาศัยหลบซ่อนตัวอยู่ระหว่างพรรณไม้น้ำในที่ตื้น ความพิเศษของปลากัด อยู่ที่ความเป็นนักสู่โดยธรรมชาติเมื่อพบปลาตัวอื่นจะเข้าต่อสู้กันทันที และที่พิเศษยิ่งกว่านั้นคือการที่ปลาตัวผู้สามารถเปลี่ยนสีให้งดงามเมื่อถูก กระตุ้น ในสภาวะตื่นตัวครีบทุกครีบจะแผ่กางออกเต็มที่ แผ่นเยื่อหุ้มเหงือขยายพองตัวออก พร้อมกับสีน้ำเงินหรือแดงที่ปรากฏขึ้นมาชัดเจนในโทน ต่าง ๆ ทำให้ดูสง่าอาจหาญ และสวยงาม ปลาป่าแท้นั้นส่วนมากครีบ หางและกระโดงที่ภาษานักแปลงปลาเรียกรวมว่า “เครื่อง” จะมีสีแดงเกือบตลอดมีประดำบ้างเล็กน้อย บางทีอาจมีเส้น เขียว ๆ แซมบ้าง อย่างที่เรียกว่าเขียวก็มีเพียงแต้มเขียวอ่อน ๆ ที่กระโดงเท่านั้น เวลาถอดสีปกติทั้งตัวและ เครื่องเป็นสีน้ำตาลจืด ๆ คล้ายใบหญ้าแห้ง ที่ห้อยแช่น้ำอยู่ ลักษณะพิเศษอีกอย่างหนึ่งของ ปลากัดก็คือเป็นปลาที่มีอวัยวะช่วยหายใจพิเศษที่อยู่บริเวณเหงือกทำให้ปลา สามารถใช้ออกซิเจน จากการฮุบอากาศได้โดยตรง ปลากัดจึงสามารถทนทานดำรงชีวิตอยู่ได้ในที่ที่มีออกซิเจนต่ำ ตำนานเล่าขานของปลากัดจึงค่อนข้างแปลกประหลาด ไปกว่าสัตว์น้ำชนิดอื่น ๆ บทความ “ธรรมชาติของปลากัดไทย) โดย ม.ล. ยิ่งศักดิ์ อิศรเสนา ที่เขียนไว้เมื่อปี 2496 ได้พูดถึงการขุดหา ปลากัดในรูปูนา ตามขอบหนอง ชายบึง ริมคู และรางน้ำ ซึ่งปลากัดเข้าไปอยู่อาศัยปน อยู่กับปูในรูตั้งแต่ต้นฤดูหนาว เมื่อน้ำเริ่มลดไป จนตลอดหน้าแล้งปูก็จะขุดรูลึก ตามระดับน้ำลงไปเรื่อย ๆ ปลากัดจะออกมาแพร่พันธุ์ใหม่ในต้นฝนในเดือนพฤษภาคม กระจายออกไปหากินตามที่มีหญ้ารก ๆ ในเขตน้ำตื้นปลากัด เป็นปลาที่ชอบน้ำตื้น จึงไม่พบตามแม่น้ำลำคลอง หนองบึง ที่มีน้ำลึก อันที่จริงในธรรมชาติการต่อสู่กันของปลากัดไม่จริงจังเท่าไรนัก ส่วนมากมักแผ่พองครีบหางขู่กันเพื่อแย่งถิ่น บางตัวเห็นท่าไม่ดีก็อาจเลี่ยงไปโดยไม่ ต่อสู้กันเลยก็มี แต่บางคู่ก็ต่อสู้กันอย่างถึงพริกถึงขิง ปลาตัวผู้ตัวไหนที่ยึดชัยภูมิเหมาะได้ที่ ก็จะก่อหวอดไว้แล้วพองตัวเบ่งสี เกี้ยวตัวเมียที่ผ่านไปมา เพื่อผสมพันธุ์วางไข่

ปลากัดหม้อ

ปลากัดหม้อ
Bettar Fighting Fishปลาลูกหม้อหรือปลาหม้อนั้นเป็นปลากัดที่ถูกนำมาคัดสายพันธ ุ์โดยนักพันธุศาสตร์สมัครเล่นชาวไทยที่มุ่งหวัง จะได้ปลาที่กัดเก่ง จากบันทึกคำบอกเล่า ของนักเลงปลาเก่าอย่าง หลวงอัมรินทร์สมบัติ (ครอบสุวรรณนคร) คาดว่า ปลาลูกหม้อน่าจะถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงประมาณปี 2430 ซึ่งท่านจำได้ว่า ก่อนหน้านั้น ยังต้องจับปลาป่า มากัดพนันกันอยู่ต่อมานักเลงปลาบางคนก็เริ่มใช้วิธีไปขุดล้วงเอาปลาป่าที่ อาศัยอยู่ตามรูปูในหน้าแล้งมาขังไว้ในโอ่ง มาเลี้ยงดูให้อาหาร พอถึงฤดูฝนก็นำมากัดพนันกับปลาป่า ซึ่งส่วนใหญ่จะสู้ปลาขุดที่เลี้ยงมาไม่ได้ การเล่นปลาขุดนี้ยังนิยมเล่นกันมาถึงประมาณ ปี 2496 หลังจากนั้นก็มีการเก็บปลาที่กัดเก่งเลี้ยงไว้ข้ามปี และหาปลาป่าตัวเมียมาผสม ลูกปลาที่ได้จากการผสมในชุดแรกจะเรียกว่า “ปลาสังกะสี” ซึ่งสัณนิษฐานว่าน่าจะได้ ชื่อมาจากผิวหนังที่หนาแกร่ง ไม่ถูกกัดขาดง่ายเหมือนปลาป่าและปลาขุด ปลาสังกะสีมักจะตัวใหญ่ สีสันลักษณะ ต่างจากปลาป่าและปลาขุด นักเลงปลาป่าจึงมักไม่ยอมกัดพนันด้วย จึงต้องกัดแข่งขันระหว่างปลาสังกะสีด้วยกันเอ ปลาสังกะสีที่เก่ง อดทน สวยงามก็จะถูกคัดไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ เมื่อผสมออกมา ก็จะได้ปลาลักษณะรูปพรรณสีสันที่สวยงาม แปลกออกไปตามอัธยาศัยของผู้ผสมพร้อม ความเก่ง และอดทนในการกัดจะว่าไปแล้วพันธุศาสตร์สัตว์น้ำของเมืองไทย นับได้ว่าเริ่มมาตั้งแต่ยุคนี้ คำว่า “ลูกหม้อ” นั้นมาจากการใช้หม้อดินในการเพาะและอนุบาลปลากัด ในระยะแรก ๆ ปลาลูกหม้อจึงเป็นปลาสายพันธุ์ ที่สร้างมาแท้ ๆ กับมือของนักเลงปลาทั้งหลาย เพื่อให้ได้ลักษณะที่ดีสำหรับการต่อสู้และให้มีสีสันที่สวยงามตามความพอใจ ของเจ้าของ ปลากัดลูกหม้อจึงมีรูปร่าง หนาใหญ่กว่าปลากัดชนิดอื่น สีสันสวยงามดูแล้วน่าเกรงขามกว่าพันธุ์อื่น ๆ สีส่วน มากจะเป็นสีน้ำเงิน แดง เทา เขียว คราม หรือแดงปนน้ำเงิน ใน การเล่นปลากัดในยุคก่อนนั้นปลาลูกหม้อจะมีสองประเภท “ลูกแท้” และ “ลูกสับ” ลูกแท้ หมายถึง ลูกปลาที่เกิดจากพ่อแม่ ่ที่มาจากครอกเดียวกัน และลูกสับหมายถึงลูกปลาที่เกิด จากพ่อแม่ที่มาจากคนละครอก ปลากัดลูกหม้อนี้ถ้าเอาไปผสมกลับกับปลาป่าลูกปลาก็จะ เรียกว่า “สังกะสี” เช่นเดียวกัน ซึ่งปลาสังกะสีซึ่งเกิดจากการผสมกลับแบบนี้ส่วนมากก็จะมีชั้นเชิงและน้ำอด น้ำทนในการกัดสู้ลูกหม้อไม่ได้ “ลูกหม้อ” จึง เป็นสุดยอดของปลากัดสำหรับนักเลงปลาทั้งหลาย ในระยะหลัง ๆ ก็อาจมีการพูดถึงสายพันธุ์ “มาเลย์” หรือ “สิงคโปร์” ซึ่งว่ากันว่ากัดเก่งหนังเหนียวแต่โดยแท้จริงก็คือปลาลูกหม้อ นั่นเอง เพียงแต่ว่าในระยะต่อมามีการประยุกต์ใช้กลวิธีการ หมักปลาด้วยสมุนไพร ใบไม้ ว่าน ดินจอมปลวก และอื่น ๆ เพื่อช่วยเคลือบเกล็ดปลา ที่เชื่อกันว่าจะทำให้เกล็ดแข็งกัดเข้า ได้ยาก ควบคู่ไปกับการคัดเลือกพันธุ์ ถึงอย่างไร ลูกหม้อก็คือลูกหม้อที่เราชาวไทยพัฒนามาแต่โบราณแม้จะถูกนำไป พัฒนาสายพันธุ์ในที่อื่นก็ยังคงเป็นลูกหม้อไทยตัวเดิมนั่นเอง

ประวัติปลากัด

ประวัติปลากัดปลากัด (Betta splendens Regan)เป็นปลาพื้นเมืองของไทยที่นิยมเพาะเลี้ยงมาตั้งแต่โบราณ เป็นเวลาหลายร้อยปี มาแล้ว ทั้งเพื่อไว้ดูเล่น และเพื่อกีฬากัดปลา และเป็นที่รู้จักกันดีในต่าง ประเทศมานานเช่นกัน ได้มีการนำปลากัดไปเลี้ยงในยุโรป ตั้งแต่พ.ศ. 2414 ได้ นำไปทำการเพาะเลี้ยงกันอย่างกว้างขวาง และเพาะได้สำเร็จที่ ประเทศ ผรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ. 2436 ปัจจุบันประเทศไทยมีการเพาะพันธุ์กันแพร่ หลาย เนื่องจากเป็นปลาที่เลี้ยง และเพาะพันธุ์ได้ง่าย ปีหนึ่งประเทศไทยส่ง ปลากัดไปขายยังต่างประเทศ คิดเป็นมูลค่าหลายล้านบาทปลากัดพันธุ์ดั้งเดิม ใน ธรรมชาติ มีสีน้ำตาลขุ่นหรือสีเทาแกมเขียว ครีบและหางสั้น ปลาเพศผู้มีครีบ และหางยาวกว่าเพศเมีย เล็กน้อย จากการเพาะพันธุ์และการคัดพันธุ์ติดต่อกันมา นานทำให้ได้ปลากัดที่มีสีสันสวยงามหลายสี อีกทั้งลักษณะครีบก็แผ่กว้างใหญ่ สวยงามกว่าพันธุ์ดังเดิมมากและจากสาเหตุนี้ทำให้มีการจำแนกพันธุ์ปลากัด ออก ไปได้เป็นหลายชนิด เช่น ปลากัดหม้อ ปลากัดทุ่ง ปลากัดจีน ปลากัดเขมร ปลากัด พม่า เป็นต้น เนื่องจาก
ปลากัดเป็นปลาขนาดเล็ก เจริญเติบโตดีในภาชนะแคบ ๆ และในการเลี้ยงไม่ต้องใช้ เครื่องช่วยเพิ่มออกซิเจน ในน้ำ จึงเป็นที่นิยมนำมาใช้เป็นสัตว์ทดลองในห้อง ปฏิบัติการครับ

การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์

การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์   ท้อปลาที่นำมาทำการเพาะพันธุ์ ควรมีอายุตั้งแต่ 5-6 เดือนขึ้นไป โดยปลาจะให้ไข่ครั้งละประมาณ 500-1,000 ฟอง ในฤดูผสมพันธุ์ จะสังเกตเห็นความสมบูรณ์เพศของปลาได้ชัดเจน ในการคัดเลือกปลาเพื่อผสมพันธุ์ มีหลักที่ควรปฏิบัติดังนี้
ปลาเพศผู้   คัดปลาที่แข็งแรง ปราดเปรียว ลักษณะสีสดสวย ชอบสร้างรังซึ่งเรียกว่า “หวอด” โดยการพ่นฟองอากาศที่มีน้ำเมือกจากปากและลำคอผสมด้วย ซึ่งแสดงถึงว่าปลาเพศผู้มีความสมบูรณ์ทางเพศเต็มที่พร้อมที่จะผสมพันธุ์

ปลาเพศเมีย   คัดเลือกปลาที่แข็งแรง สังเกตบริเวณงมีลักษณะอูมเป่งและบริเวณใต้ท้องจะมีตุ่มสีขาวใกล้กับรูก้นเห็นได้ชัดเจน ซึ่งตุ่มสีขาวนี้เรียกกันว่า “ไข่น้ำ

การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลากัด


การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลากัด   เนื่องจากปลากัดเป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าว ชอบต่อสู้เมื่ออายุประมาณ 1  1/2 -2 เดือน การเลี้ยงปลากัดจึงจำเป็นต้องรีบแยกปลากัดเลี้ยงในภาชนะเพียง 1 ตัวก่อนที่ปลาจะมีพฤติกรรมต่อสู้กัน ภาชนะที่เหมาะสมที่สุดควรนำมาใช้เลี้ยงปลากัดได้แก่ ขวด(สุรา) ชนิดแบนบรรจุน้ำได้ 150 ซีซี เพราะสามารถเรียงกันได้ไม่สิ้นเปลืองเนื้อที่ การแยกเพศจะสังเกตเห็นว่าปลาเพศผู้จะมีลำตัวสีเข้ม ครีบยาว ลายบนลำตัวมองเห็นชัดเจนและขนาดมักจะโตกว่าเพศเมีย ส่วนปลาเพศเมียจะมีสีซีดจาง มีลาดพาดตามยาวลำตัว 2-3 แถบ และมักจะมีขนาดเล็กกว่าปลาเพศผู้
น้ำที่ใช้เลี้ยง ปลากัดต้องเป็นน้ำที่สะอาดปราศจากคลอรีน มีความเป็นกรด-ด่าง (pH) ประมาณ 6.5-7.5 มีความกระด้าง 75-100 มิลลิกรัมต่อลิตร และมีความเป็นด่าง 150-200 มิลลิกรัมต่อลิตร ควรบรรจุน้ำลงในขวดเพียง 1/2 ขวด เพื่อเว้นช่องว่างให้อากาศได้สัมผัสกับผิวน้ำ

ปลากัด

วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ปลากัด

ปลากัดเลี้ยงปลากัดสีสวยเพาะพันธุ์ง่าย
ปลากัดเป็นปลาสวยงามอีกชนิดหนึ่ง ที่มีผู้นิยมเลี้ยงกันมานานแล้ว จนมีการพัฒนาพันธุ์ให้มีหลากหลายสี เป็นที่ต้องการของตลาด การเพาะพันธุ์ปลากัดเริ่มแรกจะต้องเลือกพ่อแม่ปลาที่มีอายุ ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป มีความสมบูรณ์เต็มที่
โดยจะสังเกตได้จากตัวผู้เมื่อนำ มาเทียบกับตัวเมียจะว่ายน้ำได้อย่างคล่องแคล่วและก่อหวอดขึ้น ส่วนตัวเมียที่บริเวณท้องจะมีลักษณะอูมบวมเพราะมีไข่อยู่ เมื่อได้พ่อแม่ปลาที่มีความสมบูรณ์แล้ว ก็นำมาแยกใส่ขวด โหล ตั้งไว้ติดกันเพื่อให้ตัวเมียไข่สุกเร็วขึ้นซึ่งฤดูกาลควรจะเริ่มในช่วง เดือนพฤษภาคม-กันยายน เพราะถ้าเป็นช่วงฤดูหนาวปลาจะไม่ค่อยผสมพันธุ์กัน เมื่อเทียบปลาไปได้
ประมาณ 2 อาทิตย์ ก็นำใส่ลงในบ่อปูนหรือกะละมัง ก็ได้ โดยให้มีระดับน้ำพอเหมาะ และควรใส่ไม้น้ำลงไปเพื่อให้พ่อปลาก่อหวอดหลังจากนั้น 2 วัน พ่อปลาจะเริ่มก่อหวอดและคลี่ครีบไล่ต้อน ตัวเมียให้ไปอยู่ใต้หวอดเพื่อรัดท้องแม่ปลารีดไข่ให้ออกมาแล้วฉีดน้ำเชื้อลงในไข่ และไข่จะจมลงไปสู่พื้นบ่อ พ่อปลาจะว่ายไปอมไข่มาไว้ที่หวอด เมื่อแม่ปลาวางไข่หมดแล้วให้นำออกจากบ่อป้องกันไม่ให้กินไข่ แล้วปล่อยให้พ่อปลาดูแลไข่ประมาณ 2 วัน จึงนำออกจากบ่อเพาะเช่นเดียวกัน ไข่ปลาจะเริ่มฟักออกเป็นตัวภายในเวลา 36 ชั่วโมง แล้วจะเกาะอาศัยอยู่ที่หวอด ในระยะ 3-4 วันแรกยังไม่ต้องให้อาหารเพราะลูกปลามีถุงอาหารติดอยู่หลังจากที่ฝักออกมา เมื่อถุงอาหารยุบแล้วก็เริ่ม ให้อาหารเป็นไข่แดงต้มสุกละลายน้ำ กรองผ่านกระชอนตาถี่วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 3 - 5 วันจึงเปลี่ยนไปให้ไรแดงขนาดเล็กแทน จนกระทั่งปลากินลูกน้ำได้ ซึ่งจะสามารถแยกเพศเมื่อปลาได้อายุ 45 วันขึ้นไป และเมื่อปลาเริ่มกัดกันจึงค่อยแยกใส่ขวดโหลขวดละตัว ปลากัดตัวผู้จะมีสีสันและความสวยงามมากกว่าปลากัดตัวเมีย แต่ปลากัดตัวผู้นั้นจะมีนิสัยก้าวร้าวมากกว่าปลากัดตัวเมีย

ปลากัด

ปลากัด เป็นปลาที่คนไทยรู้จักเป็นอย่างดีมาแต่โบราณ โดยปลากัดสายพันธุ์ดั้งเดิมจากธรรมชาติมักเรียกติดปากว่า "ปลากัดทุ่ง" หรือ "ปลากัดลูกทุ่ง" หรือ "ปลากัดป่า" จากพฤติกรรมที่ชอบกัดกันเองแบบนี้ ทำให้นิยมนำมาเลี้ยงใช้สำหรับกัดต่อสู้กันเป็นการพนันชนิดหนึ่งของคนไทย และได้มีการพัฒนาสายพันธุ์และความสามารถในชั้นเชิงการกัดจนถึงปัจจุบัน จนเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของประเทศไทยและเป็นที่รับรู้ของชาวต่างชาติในชื่อ "Siamese fighting fish"

ในปัจจุบัน ปลากัดภาคกลางได้ถูกพัฒนาสายพันธุ์ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น มีสีสันที่สวยงามและหลากหลายขึ้น เรียกว่า "ปลากัดหม้อ" นิยมเลี้ยงในภาชนะขนาดเล็กและแคบ เช่น ขวดโหล ขวดน้ำอัดลม เป็นต้น อีกทั้งยังได้พัฒนาสายพันธุ์ในแง่ของความเป็นปลาสวยงามอีกหลายสายพันธุ์ เช่น ปลากัดจีน ที่มีเครื่องครีบยาว ปลากัดแฟนซี ที่มีสีสันหลากหลายสวยงาม ปลากัดคราวน์เทล หรือ ปลากัดฮาร์ฟมูน เป็นต้น

วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วิธีจีบสาว

50 ข้อดีของคนไม่มีแฟน

1.มีเวลาทำอย่างอื่นนอกจากดูหนังคุยโทรศัพท์
2.มีเวลาอยู่กับเพื่อนมากขึ้น
3.กลับบ้านดึกก็ได้ไม่ต้องโทรรายงานใคร
4.ไม่ต้องทะเลาะกับใคร
5.ประหยัดค่าใช่จ่ายแบบว่าไม่ต้องไปเที่ยวไหน
6.ร้องเพลงคนไม่มีแฟนของพี่เบิร์ดได้อย่างสะใจ
7.ไม่ต้องคอยเอาใจคนอื่น
8.ไม่ต้องพบเพื่อนของแฟนที่เราไม่อยากรู้จัก
9.ไม่ต้องกลัวว่าใครจะมาแย่งแฟนเรา
10.มีคนคอยเป็นห่วงเยอะ(และคอยถามว่าทำไมไม่มีแฟน)
11.ไม่ต้องคอยหึงหวง
12.ไม่ต้องห่วงว่าเค้าจะสบายดีรึเปล่า
13.มีเวลาให้ตัวเองเต็มที่
14.ไม่ต้องฟังคำว่า“อนาคตของเรา”
15.ไม่ต้องออกหัก(อันนี้สำคัญมาก)
16.ไม่ต้องกังวลว่าแต่ละวันใส่ชุดอะไรถึงจะถูกใจเขา
17.ไปหาเพื่อนแต่งตัวแบบไหนก็ได้
18.ไม่ต้องคอยเช็คsmsเผื่อว่าเขาส่งมาแล้วยังไม่ได้ส่งกลับ(เฮ้อ….เปลืองเงินปล่าวๆ)
19.อยากจีบสาวภานิชย์ก็ได้ไม่มีใครคอยตามประกบ
20.พ่อแม่จะรักเป็นพิเศษเพราะอยู่ติดบ้าน
21.ไม่ต้องเปลี่ยนตัวเองเพื่อเอาใจใคร
22.ไม่ต้องคิดมาก
23.มีทางเลือกให้กับชีวิตมากขึ้น